ศึกษาและทำรายงานต่อจากหัวข้อที่ได้เสนอใน CE 4902 ทำรายงานฉบับสมบูรณ์และเสนอในที่ประชุม

ชนิดและรูปแบบของสัญญาก่อสร้าง เอกสารรายการก่อสร้าง การแยกจำนวนวัสดุที่ต้องใช้ในงานก่อสร้าง การหาราคาต่อหน่วยและการวิเคราะห์ราคา การประมาณการก่อสร้างในด้านการเงิน งานและวัสดุ ปัญหาทั่วไปเกี่ยวกับงานสนามและการควบคุมงาน จรรยาบรรณทางวิชาชีพและความรับผิดชอบทางกฎหมาย การวางแผนโครงการวิธีการวางแผนงานแบบวิกฤต การจัดการทรัพยากร ความปลอดภัยในการก่อสร้างและระบบควบคุมคุณภาพ

การออกแบบโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก โครงสร้างไม้ โครงสร้างเหล็ก ข้อบัญญัติในการออกแบบโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก ทฤษฎีต่างๆ ที่ใช้ในการออกแบบ ทั้งทฤษฎีหน่วยแรงใช้งานและทฤษฎีกำลังประลัย วัสดุในคอนกรีต คุณสมบัติของคอนกรีตและเหล็กเสริม พฤติกรรมของโครงสร้างเมื่อถูกกระทำด้วยโมเมนต์ดัด แรงเฉือน แรงบิด แรงตามแกน และแรงผสม คุณสมบัติความยืดหยุ่นและกำลังความต้านทานของไม้ ไม้อัด การออกแบบคาน องค์อาคารที่รับแรงอัด แรงดึง จุดต่อ ความทนทานและความทนไฟ ข้อกำหนดและข้อบังคับในการออกแบบโครงสร้างเหล็กโดยวิธี ASD และ LRFD องค์อาคารรับแรงดึงและแรงอัด การออกแบบคาน คานประกอบ การออกแบบเสา เสาประกอบ คาน-เสา การออกแบบโครงหลังคา การออกแบบจุดต่อด้วยสลัก เกลียว หมุดย้ำ และการเชื่อม

ปริมาณน้ำใช้และน้ำทิ้ง หลักการผลิตน้ำประปา การแจกจ่ายน้ำ การระบายน้ำฝนและน้ำทิ้ง ชลศาสตร์ของท่อระบายน้ำ การออกแบบท่อระบายน้ำฝนและน้ำทิ้ง การควบคุมคุณภาพน้ำการกำจัดน้ำเสียในชุมชนและโรงงานอุตสาหกรรม เครื่องสูบน้ำและสถานีสูบน้ำ สุขาภิบาลและการเดินท่อในอาคาร ระบบจัดการขยะมูลฝอย

อบรมและรับฟังการบรรยายจากอาจารย์ผู้สอนและวิศวกรที่ชำนาญงานโยธาในสาขาต่างๆ อภิปรายและสัมมนาทางวิชาการกลุ่มที่ทำโครงการค้นคว้าวิจัยเสนอหัวข้อทางวิศวกรรมโยธา

การไหลในทางน้ำเปิดและการออกแบบ การไหลในท่อและการออกแบบระบบท่อการเกิดวอเตอร์แฮมเมอร์ การเปลี่ยนแปลงแบบช้าๆ โครงสร้างทางชลศาสตร์ อ่างเก็บน้ำและตะกอนในอ่างเก็บน้ำ เขื่อน ทางระบายน้ำล้น ประตูระบายน้ำ อุโมงค์ผันน้ำ แอ่งชะลอความเร็ว เครื่องจักรกลทางชลศาสตร์ เครื่องสูบน้ำและกังหัน แบบจำลองทางชลศาสตร์ การระบายน้ำออกจากพื้นที่ชุมชน

การทดสอบกลศาสตร์ของดินในสนามและในห้องปฏิบัติการ ซึ่งเป็นไปตามวิธีการทดสอบแบบมาตรฐานเพื่อคำนวณหาคุณสมบัติของดินทางวิศวกรรม การทดสอบหาความชื้นในมวลดินและในสนาม การเก็บตัวอย่างดินในสนาม การหาขีดจำกัดแอตเตอร์เบอร์ก ความถ่วงจำเพาะของดิน ความหนาแน่นของดินในสนาม การหาขนาดคละของดิน การทดสอบความสามารถในการยอมให้น้ำไหลผ่าน การทดสอบการบดอัดดิน การทดสอบหาค่า เช่น การหาค่า CBR การทดสอบการทรุดตัวของดิน การทดสอบหากำลังของดินโดยไม่มีแรงดันด้านข้าง การหาความสามารถในการรับแรงเฉือนโดยการกดแบบสามแกนการหาความสามารถในการรับแรงเฉือนโดยตรง

โครงสร้างและการกำเนิดของดิน การเจาะสำรวจดินและการบันทึกข้อมูลการสำรวจดิน คุณสมบัติทางวิศวกรรมของดิน ความสัมพันธ์ระหว่างน้ำหนักกับปริมาตรของมวลดิน ขีดจำกัดแอตเตอร์เบอร์ก การจำแนกและการจัดประเภทของดิน การซึมได้ของน้ำในดิน แผนผังทิศทางการไหลของน้ำในดิน หน่วยแรงในแนวดิ่งที่เกิดภายในดิน หน่วยแรงประสิทธิผล การบดอัดของดิน การทรุดตัวของดินความสามารถในการรับแรงเฉือนของดิน แรงดันด้านข้างของดิน เส้นทางของหน่วยแรงในดิน การวิเคราะห์เสถียรภาพความชันของดิน การปรับปรุงคุณสมบัติและกำลังของดิน

แนะนำการสำรวจและการทำแผนที่ เครื่องมือที่ใช้ในการสำรวจ การทำงานสนามเบื้องต้น ทฤษฎีของการวัดและความคลาดเคลื่อน การสามเหลี่ยมเบื้องต้นและการปรับแก้การคำนวณอาซิมุธอย่างละเอียด การวัดระยะทาง กล้องธีโอโดไลท์ การวัดมุม งานวงรอบและการปรับแก้ การทำระดับด้วยกล้องระดับและการปรับแก้ การทำระดับตรีโกณ เส้นชั้นความสูงและการใช้ประโยชน์ในงานด้านต่างๆการสำรวจภูมิประเทศ การทำแผนที่

ศึกษาความรู้พื้นฐานทางวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์เพื่อความมั่นคงกับงานโยธาและสิ่งแวดล้อม หน้าที่และความรับผิดชอบทางวิศวกรรม การแก้ปัญหาทางวิศวกรรม ความสำคัญของการทดสอบ การทดลอง และการเสนอผล กฏหมายเบื้องต้นทางวิศวกรรม การสำรวจเบื้องต้น ความปลอดภัย ความรู้พื้นฐาน และปฏิบัติการเกี่ยวกับเครื่องมือและอุปกรณ์ทางวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์เพื่อความมั่นคงทางทหาร