ศึกษาพัฒนาการประวัติศาสตร์ไทยตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ จนถึงปัจจุบัน โดยเน้นถึงกระบวนการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองการปกครอง การต่างประเทศ เศรษฐกิจ สังคม และศิลปวัฒนธรรม เพื่อชี้ให้เห็นถึงปฏิสัมพันธ์ระหว่างกระแสการเปลี่ยนแปลงของโลกกับการปรับตัวด้านต่างๆ ภายในสังคมไทย นับตั้งแต่ยุคล่าอาณานิคม จนถึงปัจจุบัน เช่น การปรับปรุงประเทศให้ทันสมัยตามแบบตะวันตกนับตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว การพัฒนาประเทศและการดำเนินนโยบายต่างประเทศในยุคสงครามเย็นและผลที่เกิดขึ้น รวมทั้งสภาวการณ์ของประเทศไทยหลังยุคสงครามเย็นภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์


คำอธิบายรายวิชา ศึกษาเรื่องไทยในหลายด้าน ได้แก่ การเมืองการปกครอง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ตลอดจนความมั่นคง ภูมิปัญญา วรรณคดีไทย ซึ่งเป็นผลมาจากการศึกษาของศาสตร์หลายสาขา เช่น ประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ มานุษยวิทยา รัฐศาสตร์ เพื่อชี้ให้เห็นอัตลักษณ์และพัฒนาการของสังคมไทยปัจจุบัน รวมถึงผลของการเปลี่ยนแปลงในระดับภูมิภาคและท้องถิ่น เช่น จังหวัดนครนายก


คำอธิบายรายวิชา ศึกษาพัฒนาการประวัติศาสตร์ไทยตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ จนถึงปัจจุบัน โดยเน้นถึงกระบวนการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองการปกครอง การต่างประเทศ เศรษฐกิจ สังคม และศิลปวัฒนธรรม เพื่อชี้ให้เห็นถึงปฏิสัมพันธ์ระหว่างกระแสการเปลี่ยนแปลงของโลกกับการปรับตัวด้านต่างๆ ภายในสังคมไทย นับตั้งแต่ยุคล่าอาณานิคม จนถึงปัจจุบัน เช่น การปรับปรุงประเทศให้ทันสมัยตามแบบตะวันตกนับตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว การพัฒนาประเทศและการดำเนินนโยบายต่างประเทศในยุคสงครามเย็นและผลที่เกิดขึ้น รวมทั้งสภาวการณ์ของประเทศไทยหลังยุคสงครามเย็นภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์

คำอธิบายรายวิชา ศึกษาประวัติศาสตร์ไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน (กัมพูชา เมียนมา มาเลเซีย และลาว) ตั้งแต่ก่อนยุคสมัยอาณานิคมถึงยุคปัจจุบัน พัฒนาการด้านการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมของแต่ละประเทศ โดยเน้นส่วนที่เกี่ยวข้องกับไทย ภูมิศาสตร์ของกลุ่มประเทศนี้ ประเด็นความร่วมมือและความขัดแย้งโดยเฉพาะประเด็นความมั่นคงในพื้นที่ชายแดน ทั้งในระดับทวิภาคีและพหุภาคีผ่านข้อตกลงระดับภูมิภาคและองค์กรระหว่างประเทศ เช่น อาเซียน และสหประชาชาติ อีกทั้งบทบาทของประเทศมหาอำนาจนอกภูมิภาคในพัฒนาการของพื้นที่ประเทศกลุ่มนี้

 


ศึกษาประวัติศาสตร์ประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น ไทย มาเลเซีย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ นับตั้งแต่ยุคโบราณจนถึงปัจจุบัน เพื่อชี้ให้เห็นถึงพัฒนาการทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมของภูมิภาคดังกล่าวภายใต้กระแสการเปลี่ยนแปลงของโลก โดยเฉพาะนับตั้งแต่ยุคล่าอาณานิคม การต่อสู้เพื่อเอกราชและการยึดครองของญี่ปุ่นในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 การสร้างและพัฒนา ประเทศในยุคสงครามเย็นและหลังยุคสงครามเย็น การร่วมมือภายในภูมิภาคเป็นประชาคมอาเซียน (ASEAN Community) และปัญหาความมั่นคงภายในภูมิภาคในกระแสการก่อการร้ายในโลกปัจจุบัน

ศึกษาสถานการณ์โลกปัจจุบันที่เป็นประเด็นปัญหาและมีความสำคัญต่อความมั่นคงของโลกในภูมิภาคต่าง ๆ และประเทศไทย โดยเน้นถึงรากเหง้าของปัญหาและชี้ให้เห็นความเกี่ยวพันทางประวัติศาสตร์ การเมือง เศรษฐกิจ และสังคม อีกทั้งปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อสถานการณ์เหล่านั้น เช่น บทบาทของชาติมหาอำนาจ  เช่น สหรัฐอเมริกา จีน องค์การระหว่างประเทศ รวมทั้งศึกษาการเปลี่ยนแปลงของโลกด้านอื่น ๆ เช่น เทคโนโลยี และเหตุการณ์ปัจจุบันที่ส่งผลกระทบต่อประเทศไทย


คำอธิบายรายวิชา ศึกษาความมั่นคงของโลกในเชิงประวัติศาสตร์และทฤษฎีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ เพื่อชี้ให้เห็นความพยายามของมนุษย์ในการจัดระเบียบโลกหรือระบบนานาชาติ เพื่อสร้างโลกให้มีสันติภาพและความสงบในแต่ละยุค ทั้งในโลกตะวันตกและตะวันออก เช่น Pax Romana ในสมัยโรมัน ระบบจิ้มก้องของจีนก่อนยุคอาณานิคม การจัดระเบียบโลกของสหรัฐอเมริกาในคริสต์ศตวรรษที่ 20 รวมทั้งศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างนโยบายความมั่นคงของไทยกับระบบความมั่นคงของโลกทั้งในอดีตและปัจจุบัน

ศึกษาประวัติศาสตร์ประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออก เชน จีน ญี่ปุน เกาหลี นับตั้งแต่ เผชิญหนากับลัทธิลาอาณานิคมในคริสตศตวรรษที่ 18-19 จนถึงปจจุบัน เพื่อชี้ใหเห็นถึงการคุกคามของลัทธิลาอาณา นิคม และผลที่เกิดขึ้นภายในภูมิภาคทั้งทางดานการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ตลอดจนการเปลี่ยนแปลง สำคัญในยุคสงครามเย็นและหลังยุคสงครามเย็น และความพยายามที่จะปรับปรุงประเทศใหสามารถแขงขันกับโลกทุน นิยมตะวันตกไดในกระแสโลกาภิวัตน รวมทั้งปญหาความมั่นคงภายในภูมิภาค

ศึกษาถึงความเป็นมาของสาธารณรัฐรัสเซียก่อนรัชสมัยพระเจ้าปีเตอร์มหาราชจนถึงปัจจุบัน เพื่อชี้ให้เห็นถึงพัฒนาการของรัสเซีย ตั้งแต่สมัยใหม่ (ค.ศ. 1855-1904) การปรับปรุงประเทศสมัยพระเจ้าอเล็กซานเดอร์ที่ 2 และการปฏิวัติรัสเซีย ค.ศ. 1917 กำเนิดสหภาพโซเวียตภายใต้ระบอบคอมมิวนิสต์ รวมทั้งความสัมพันธ์กับประเทศมหาอำนาจสำคัญในยุคสงครามเย็นจนถึงการล่มสลายของสหภาพโซเวียต ค.ศ. 1991 และบทบาทของสาธารณรัฐรัสเซียในเวทีการเมืองโลกหลังยุคสงครามเย็น